เงินได้พึงประเมินที่ได้สิทธิจากการยึดทรัพย์การขายฝาก

เงินได้พึงประเมินที่ได้สิทธิจากการยึดทรัพย์การขายฝาก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในช่วงเวลานี้  ทำให้มีการขายฝากทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ที่ดินพร้อมอาคาร เป็นจำนวนมาก  พอเมื่อถึงเวลาสิ้นสุดการขายฝาก  ไม่มีเงินไปซื้อคืน  เลยต้องถูดยึด เป็นที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง  บางรายก็พยายามเจรจาเพื่อขอยึดสัญญา  ยอมจ่ายดอกเบี้ยค่อนข้างแพงทำอะไรไม่ได้เมื่อไม่มีทางออก ก็คงต้องดิ้นรนกันต่อไป แต่สำหรับผู้รับขายฝากมีปัญหาในด้านการแจ้งรายได้เพื่อเสียภาษีถ้าหากว่าผู้ขายฝากไม่มีทางออกและได้ยึดทรัยพ์สินดังกล่าวมาเป็นของตน  ในทางกฎหมายภาษี  การได้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมตรา 40 (8) แห่งประมวลรัฐฎากร  โดยเงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาของอสังหาริมทรัพย์ในวันที่ทรัพย์ดังกล่าวหลุดตกเป็นของผู้รับฝากขาย  ตามมตรา 9 แห่งประมวลรัฐฎากร  แต่ถ้าไม่อาจหาราคาได้ ให้ถือตามประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามราคาที่ใช้ตอนที่ได้กรรมสิทธิ์  

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์ มีดังต่อไปนี้ บุคคลดังต่อไปนี้ เช่น ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตาสารคนแรกในประเทศเป็นผู้เสียภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าหากไม่ได้ปฎิบัติตาม ผู้ทรงคนไดคนหนึ่งต้องเสียอากรและขีดฆ่าก่อนแล้วยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้ ผู้ทรงตราสารได ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียภาษีอากรก็ได้โดยมีสิทธไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อน ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้ ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้

เปรียบเทียบรายจ่ายที่มีลักษณะการลงทุนกับรายจ่ายเพื่อหากำไร

รายจ่ายเพื่อการลงทุน รายจ่ายเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์ มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าหนึ่งรอบบัญชี รายจ่ายเพื่อการต่อเติมขยายออก รายจ่ายเพื่อการปรับปรุงหรือทำให้ดีขึ้น รายจ่ายเพื่อการเปลี่ยน่แปลง รายจ่ายในการโยกย้ายหรือติดตั้งใหม่ให้ประโยชน์มากกว่่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายเพื่อหากำไร รายจ่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ รายจ่ายที่มีประโยชน์ใช้สอยจะไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายเพื่อทำให้ทรัพย์คงสภาพเดิม รายจ่ายเพื่อให้สินค้าหรือบริการพร้อมที่จะขาย รายจ่ายในการโยกย้าย หรือติดตั้งใหม่ให้ประโยชน์ไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ บุคคลธรรมดา หมายถังบุคคลที่มีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ตคลอดจนถึงตาย หากบุคคลธรรมดานี้มีเงินได้ถึงเกณฑ์ โดยไม่มีจำกัดอายุหรือเพศหญิงหรือชาย ผู้ถึงแก่ความตาย หมายถึง ถึงแก่ความตายในระหว่างปี หรือก่อนยื่นแบบภาษี โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ในปีถัดจากเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายและยังไม่ได้แบ่ง และกองมรดกมีเงินได้ถึงเกณฑ์ ห้องหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึงบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้าทุนกัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันและแบ่งผลกำไรกันและมีรายได้ถึงเกณฑ์ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล คล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ คือไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรกัน

ประเภทรายรับของประเทศไทย

ประเภทรายรับของประเทศไทย พวกเราหลายๆคนคงสงสัยว่ารัฐบาลไทยเอาเงินมาจากใหนมาใช้ในการบริหารประเทศ ผมจึงขอสรุปเพื่อให้ท่านได้รู้ ดังนี้ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีการขายทั่วไป เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีขายเฉพาะ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ค่าภาคหลวง ค่าใบอนุญาต ค่าจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ รายได้โรงงานยาสูบ สลากกินแบ่ง การขายหลักทรัพย์และสินทรัพย์และบริการ รายได้รัฐพาณิชย์ เงินกู้ รายได้อื่น เช่น แสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เงินคงคลัง

โครงสร้างกฎหมายภาษีอากร

โครงสร้างกฎหมายภาษีอากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร จะเป็นใครย่อมแล้วแต่กฎหมายนั้นกำหนด โดยทั่วไปจะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมาย ฐานภาษีอากร หมายถึงสิ่งที่เป็นเหตุให้เสียภาษีอากร เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การจ่าย อัตราภาษีอากร แบ่งเป็น สามประเภทตคือ แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย การประเมินการจัดเก็บภาษีอากร ภาษีในปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยคำนวณตามที่กฎหมายกำหนดแล้วยื่นแบบชำระภาษี แต่ถ้าไม่ประเมินตนเองหรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและประเมินให้ใหม่และจะมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย การอุทธรณ์ภาษีอากร ในกรณีที่ผู้ถูกประเมินไม่เห็นด้วย เกิดข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเก่ียวกับข้อเท็จจริง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องปฎิบัติตามขั้นตอนในการหาข้อยุติ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากรจะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถ้าไม่ชำระกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ดำเนินการยึดทรัพย์

ประเภทหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ของรัฐ

กรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ปิโตเลี่ยม ภาษีอากรอื่นๆและรายได้อื่นๆ กรมศุลกากร อากรขาเข้า อากรขาออก รายได้อื่นๆ กรมสรรพสามิต ภาษียาสูบ ภาษีนำ้มันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีและรายได้อื่น เช่น ภาษีเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ ภาษีกิจการบริการ เช่น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

ประมวลรัษฎากร

ระมวลรัษฎากรเป็นชื่อของกฎหมายภาษีอากรฉบับหนึ่ง มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 โดยกฎหมายนี้เป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรอยู่สี่ฉบับ ดังนี้ ภาษีเงินได้ ประกอบด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นภาษีทางตรง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์

ลักษณะภาษีอากรที่ดี

ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ มีความเป็นธรรม พิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากการดูแลของรัฐบาล มีความแน่นอนและชัดเจน ประชนมีความเข้าใจได้ง่าย และป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีความสะดวก วิธีการและเวลาในการเสียภาษีต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ต้องไม่กระทบต่อกลไกลตลาด อำนวยรายได้ เก็บภาษีได้ตามเป้าเพียงพอต่อการดำเนินงานของรัฐ มึความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายภาษีอากรและวัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี

ความหมายภาษีอากร แนวคิดที่หนึ่ง ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้สิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี แนวคิดที่สอง ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี การเก็บภาษีอากร มีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ในปัจจุบันยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถรียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน สนองนโยบายรัฐ เช่น การศึกษา สวัสดิการสังคม