การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2558

กรณีลดอัตราภาษี   1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรวมถึง บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ สำหรับรอบ       ระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม           พ.ศ.2558 ตามพ.ร.ฏ. (ฉบับที่577)  กำไรสุทธิทั้งจำนวนเสียภาษีร้อยละ 20  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน      5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้าน      บาท… Read more

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลลปี2559

ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยยกเว้นรัษฎากรและลดอัตราภาษี ฉบับที่ 595  เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558  .ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นก่อน วันที่ 1 มกราคม 2559 และมีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน ห้าล้านบาทและมีรายได้ไม่เกินสามสิบล้านบาท ให้ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผลกำไรปี 2559 ทั้งจำนวน  และในปี  2560 ให้จัดเก็บภาษีของกำไรที่เกินสามบาทขึ้นไปในอัตราร้อยละสิบ การที่จะได้รับยกเว้นภาษีต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้ ไม่มีทุนที่ชำระแล้วในรอบบัญชีไดเกืนห้าล้านบาทและไม่มีรายได้รอบบัญชีไดเกินสามสิบล้านบาท ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฎิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ไม่ถูกเพิกถอนสิทธิการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฎิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2559

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558โดยเนื้อหาตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน500 ล้านบาท  และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว)ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมพ.ศ.2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 •… Read more

การคำนวณรายได้และรายจ่ายการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ

การคำนวณรายได้และรายจ่ายการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปย้งผู้ซื้อและมีอายุเกินหนึ่งรอบบัญชี นิติบุคคลดังกล่าวดังกล่าวต้องนำกำไรที่เกิดจากการขายมาคำนวณรายได้ทั้งจำนวนในรอบบัญชีที่มีการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ สำหรับดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ผู้เช่าซื้อต้องนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อบันทึกเป็นทรัพย์สินบริษัทและคิดค่าเสื่อมราคาในแต่ละรอบบัญชีได้ไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือค่างวดที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปี

เงินได้พึงประเมินที่ได้สิทธิจากการยึดทรัพย์การขายฝาก

เงินได้พึงประเมินที่ได้สิทธิจากการยึดทรัพย์การขายฝาก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในช่วงเวลานี้  ทำให้มีการขายฝากทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ที่ดินพร้อมอาคาร เป็นจำนวนมาก  พอเมื่อถึงเวลาสิ้นสุดการขายฝาก  ไม่มีเงินไปซื้อคืน  เลยต้องถูดยึด เป็นที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง  บางรายก็พยายามเจรจาเพื่อขอยึดสัญญา  ยอมจ่ายดอกเบี้ยค่อนข้างแพงทำอะไรไม่ได้เมื่อไม่มีทางออก ก็คงต้องดิ้นรนกันต่อไป แต่สำหรับผู้รับขายฝากมีปัญหาในด้านการแจ้งรายได้เพื่อเสียภาษีถ้าหากว่าผู้ขายฝากไม่มีทางออกและได้ยึดทรัยพ์สินดังกล่าวมาเป็นของตน  ในทางกฎหมายภาษี  การได้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมตรา 40 (8) แห่งประมวลรัฐฎากร  โดยเงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาของอสังหาริมทรัพย์ในวันที่ทรัพย์ดังกล่าวหลุดตกเป็นของผู้รับฝากขาย  ตามมตรา 9 แห่งประมวลรัฐฎากร  แต่ถ้าไม่อาจหาราคาได้ ให้ถือตามประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามราคาที่ใช้ตอนที่ได้กรรมสิทธิ์  

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์ มีดังต่อไปนี้ บุคคลดังต่อไปนี้ เช่น ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตาสารคนแรกในประเทศเป็นผู้เสียภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าหากไม่ได้ปฎิบัติตาม ผู้ทรงคนไดคนหนึ่งต้องเสียอากรและขีดฆ่าก่อนแล้วยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้ ผู้ทรงตราสารได ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียภาษีอากรก็ได้โดยมีสิทธไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อน ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้ ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้

เปรียบเทียบรายจ่ายที่มีลักษณะการลงทุนกับรายจ่ายเพื่อหากำไร

รายจ่ายเพื่อการลงทุน รายจ่ายเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์ มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าหนึ่งรอบบัญชี รายจ่ายเพื่อการต่อเติมขยายออก รายจ่ายเพื่อการปรับปรุงหรือทำให้ดีขึ้น รายจ่ายเพื่อการเปลี่ยน่แปลง รายจ่ายในการโยกย้ายหรือติดตั้งใหม่ให้ประโยชน์มากกว่่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายเพื่อหากำไร รายจ่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ รายจ่ายที่มีประโยชน์ใช้สอยจะไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายเพื่อทำให้ทรัพย์คงสภาพเดิม รายจ่ายเพื่อให้สินค้าหรือบริการพร้อมที่จะขาย รายจ่ายในการโยกย้าย หรือติดตั้งใหม่ให้ประโยชน์ไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ บุคคลธรรมดา หมายถังบุคคลที่มีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ตคลอดจนถึงตาย หากบุคคลธรรมดานี้มีเงินได้ถึงเกณฑ์ โดยไม่มีจำกัดอายุหรือเพศหญิงหรือชาย ผู้ถึงแก่ความตาย หมายถึง ถึงแก่ความตายในระหว่างปี หรือก่อนยื่นแบบภาษี โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ในปีถัดจากเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายและยังไม่ได้แบ่ง และกองมรดกมีเงินได้ถึงเกณฑ์ ห้องหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึงบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้าทุนกัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันและแบ่งผลกำไรกันและมีรายได้ถึงเกณฑ์ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล คล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ คือไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรกัน

ประเภทรายรับของประเทศไทย

ประเภทรายรับของประเทศไทย พวกเราหลายๆคนคงสงสัยว่ารัฐบาลไทยเอาเงินมาจากใหนมาใช้ในการบริหารประเทศ ผมจึงขอสรุปเพื่อให้ท่านได้รู้ ดังนี้ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีการขายทั่วไป เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีขายเฉพาะ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ค่าภาคหลวง ค่าใบอนุญาต ค่าจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ รายได้โรงงานยาสูบ สลากกินแบ่ง การขายหลักทรัพย์และสินทรัพย์และบริการ รายได้รัฐพาณิชย์ เงินกู้ รายได้อื่น เช่น แสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เงินคงคลัง