โครงสร้างกฎหมายภาษีอากร

โครงสร้างกฎหมายภาษีอากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร จะเป็นใครย่อมแล้วแต่กฎหมายนั้นกำหนด โดยทั่วไปจะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมาย ฐานภาษีอากร หมายถึงสิ่งที่เป็นเหตุให้เสียภาษีอากร เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การจ่าย อัตราภาษีอากร แบ่งเป็น สามประเภทตคือ แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย การประเมินการจัดเก็บภาษีอากร ภาษีในปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยคำนวณตามที่กฎหมายกำหนดแล้วยื่นแบบชำระภาษี แต่ถ้าไม่ประเมินตนเองหรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและประเมินให้ใหม่และจะมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย การอุทธรณ์ภาษีอากร ในกรณีที่ผู้ถูกประเมินไม่เห็นด้วย เกิดข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเก่ียวกับข้อเท็จจริง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องปฎิบัติตามขั้นตอนในการหาข้อยุติ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากรจะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถ้าไม่ชำระกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ดำเนินการยึดทรัพย์

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ประเภทหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ของรัฐ

กรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ปิโตเลี่ยม ภาษีอากรอื่นๆและรายได้อื่นๆ กรมศุลกากร อากรขาเข้า อากรขาออก รายได้อื่นๆ กรมสรรพสามิต ภาษียาสูบ ภาษีนำ้มันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีและรายได้อื่น เช่น ภาษีเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ ภาษีกิจการบริการ เช่น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

ประมวลรัษฎากร

ระมวลรัษฎากรเป็นชื่อของกฎหมายภาษีอากรฉบับหนึ่ง มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 โดยกฎหมายนี้เป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรอยู่สี่ฉบับ ดังนี้ ภาษีเงินได้ ประกอบด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นภาษีทางตรง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์

ลักษณะภาษีอากรที่ดี

ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ มีความเป็นธรรม พิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากการดูแลของรัฐบาล มีความแน่นอนและชัดเจน ประชนมีความเข้าใจได้ง่าย และป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีความสะดวก วิธีการและเวลาในการเสียภาษีต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ต้องไม่กระทบต่อกลไกลตลาด อำนวยรายได้ เก็บภาษีได้ตามเป้าเพียงพอต่อการดำเนินงานของรัฐ มึความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายภาษีอากรและวัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี

ความหมายภาษีอากร แนวคิดที่หนึ่ง ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้สิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี แนวคิดที่สอง ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี การเก็บภาษีอากร มีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ในปัจจุบันยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถรียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน สนองนโยบายรัฐ เช่น การศึกษา สวัสดิการสังคม

ประเภทของภาษีอากร

ภาษีอากรถือเป็นแหล่งเงินได้ของรัฐบาล ซึ่งมีหลายประเภท โดยรัฐมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายซึ่งได้กำหนดขึ้นและมีหลายฉบับโดยมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่อยงานทำหน้าที่ควบคุมและจัดเก็บ การยแยกประเภทของภาษีอากรต่างให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งวิธีที่ประเทศเราดำเนินการอยู่พิจารณาจากการรับภาระภาษีอากร แบ่งออกเป็นสอง กรณีดังนี้ ภาษีทางตรง ได้แก่ภาษีที่ภาระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีที่ภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาษีหรือไม่ โดยผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุระกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

ของแถม

มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ มูลค่าของแถมต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าหรือบริการ มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ซื้อสินค้าในแต่ละวัน มูลค่าสินค้าที่แถมต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ขาย

รายได้มูลนิธิหรือสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

มูลนิธิหรือสมาคมจะต้องเสียภาษีเงินได้จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย โดยรายได้ที่ต้องเสียภาษีจะรวมรายได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะได้มาจากทางใด ยกเว้นรายได้ดังนี้ ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงสมาชิกท่ีได้รับจากสมาชิก เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการให้โดยเสน่หา นอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะเงินสดได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทำของ หรือการให้บริการอื่นไดที่โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน

รอบระยะเวลาบัญชี

ประมวลรัษฎากรได้กำหนดระยะเวลาในรอบระยะเวลาบัญชีไว้ดังนี้ รอบระยะเวลาปรกติให้มี 12 เดือน เริ่มตั้งแต่นายทะเบียนรับจดทะเบียนนิติบุคคลเว้นแต่กรณีนี้ จะน้อยกว่า 12 เดือนได้ เริ่มตั้งขึ้นใหม่ ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้าย ตามที่สรรพากรอนุญาต เลิกบริษัท ควบรวมกิจการ 2. รอบบัญชีอาจมากกว่า 12 เดือน ในกรณีนี้ เลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีไม่สามารถยื่นรายการเสียภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้าได้ยื่นคำร้องต่อสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่พนักงานรับจดทะเบียน อธิบดีอาจอนุมัติให้ขยายเวลาได้ อธิบดีอาจสั่งให้ขยายระยะเวลาได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องที่เลิกกิจการเฉพาะรายได้

เงินบริจาคการกุศล

ตอนนี้ใกล้กำหนดการยื่นจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี  วันนี้ขอพูดถึงค่าลดหย่อนการบริจาคการกุศล  โดยเงินบริจาคที่ลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศลสาธารณะโดยหักได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว  โดยบริจาคต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้ การบริจาคเป็นทรัพย์สิน เช่น ที่ด่ิน รถยนต์ จะตีราคาเพื่อหักลดหย่อนไม่ได้ ในกรณีที่ใบเสร็จรับเงินบริจาค ระบุชื่อผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาเป็นผู้บริจาคโดยไม่ได้แยกส่วนกันไว้ ให้ถือว่าบริจาคคนละครึ่งของจำนวนเงินบริจาคทั้งหมด ในกรณีที่มีชื่อบุคคลหลายคนในใบเสร็จรับเงินบริจาค  ให้เฉลี่ยเท่าๆกัน ใบเสร็จรับเงินระบุวันบริจาคปีภาษีไดให้นำมาหักในรอบปีภาษีนั้น ต้องบริจาคให้แก่องค์กรการสถานสาธารณะกุศลตามรายชื่อที่กำหนดไว้เท่านั้น