ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี

ความรับผิดขอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกกรณี จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าหากไม่หักจะต้องรับผิดดังนี้ คือ ในกรณีไม่ได้หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เลย หรือหักภาษีไม่ครบถ้วน ให้ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้รับผิดชอบร่วมกันในจำนวนภาษ๊ที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและมิได้นำส่ง ในกรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษีไว้เแล้ว แต่มิได้นำส่งหรือนำส่ง แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเท่าจำนวนที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้หักไว้แล้ว และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายรับผิดชำระเงินจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ในกรณีที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ให้ผู้มีเงินได้แสดงสถานะเพื่อการหักลดหย่อน โดยผู้มีเงินได้ลงลายมื่อชื่อรับรอง หากปรากฎว่ารายการนี้ผิดพลาดทำให้การหักภาษี ณ ที่จ่ายผิดพลาดไปด้วยผู้มีเงินได้ต้องรับผิดชำระภาษีในส่วนที่นำส่งไม่ครบถ้วน ผู้หักภาษีไม่ต้องรับผิดชอบ ในกรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบหรือขาดจำนวนหรือไม่นำส่งหรือล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ… Read more

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายมาตรา 78 ได้กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ การขายสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนที่มีการส่งมอบสินค้า ขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในในค้ายังไม่ใด้โอน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาค่างวด เว้นแต่ได้รับชำระราคาค่างวดหรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อน ขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้ตัวแทนได้ส่งมอบให้ผู้ซื้อแล้ว เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าแล้วหรือได้รับชำระราคา การขายสินค้าโดยการส่งออก ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อการชำระอากรขาออกหรือวันที่ที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก การให้บริการ ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า หรือได้ใช้บริการนั้นเอง การให้บริการตามสัญญษที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการทีสิ้นสุดลง เว้นแต่จะมีการกระทำอย่างอื่นเกิดขึ้นก่อน กรณีนำเข้าสินค้า ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาเข้าหรือเมื่อมีการวางค้ำประกันอากรขาเข้า กรณีพิเศษ กฎกระทรวงฉบับที่ 189 พ.ศ. 2534

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ปี 2559

ฉบับที่ 2 เป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 คือมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ดังนี้ 1. เป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 2. ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี 3. กำไรสุทธิปี 2559 ไม่ต้องเสียภาษี 4. กำไรสุทธิปี 2560 คิดภาษีเฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาทขึ้นไปเสียภาษีในอัตรา 10% 5. ต้องมายื่นคำร้องต่อกรมสรรพากร เพื่อขอยกเว้นและลดอัตราภาษี ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ 6. ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้อง ตั้งแต่วันที่ 1… Read more

นิรโทษกรรมภาษีย้อนหลัง

นิรโทษกรรมภาษีย้อนหลัง ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ ในการที่จะเริ่มตั้งต้นในการนำกิจการเข้าสู่ระบบความมีมาตรฐานของการจัดทำบัญชี ไม่ต้องทำบัญชีสองชุดและต้องคอยระวังส่ิ่งที่ได้ทำไว้ไม่ถูกต้อง และเมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบ ก็ไม่เห็นมีใครรอดสักรายแถมเสียเงินมากกว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องเสียอีก ใหนจะต้องเสียภาษี เสียดอกเบี้ย(เงินเพิ่ม) แถมโดนค่าปรับอีก เบ็ดเสร็จแล้วมากกว่า ท้ายสุดบางรายก็ยอมปิดกิจการไปแถมมีคดีฟ้องร้องไม่จบ และเมื่อกิจการทำบัญชีเล่มเดียว ต่อไปนี้ผู้ทำบัญชีที่จัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี รวมถึงผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อโดยไม่มีการจัดทำกระดาษทำการที่สมบูรณ์จะได้หมดไป เมืองไทยจะได้งบการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ และรัฐจัดเก็บภาษีได้เต็มที่ สำหรับรายละเอียดของพระราชกำหนดมีรายละเอีียดดังนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมระบุหมายเหตุเพิ่มเติมว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อยกเว้น และสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการสนับสนุนให้มีการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการซึ่งหากไม่ดำเนินการโดยเร่งด่วนจะส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีอันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ สำหรับเนื้อความในพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2558 ทั้ง 9 มาตรา… Read more

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้สามประเภทดังนี้ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ผู้ประกอบการ องค์ประกอบของผู้ประกอบการมีดังนี้ เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่) เป็นบุคคลธรรดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึงกองมรดก (มาตรา 77/1(2) คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุนหรือมูลนิธิที่ไม่ใช่นิติบุคคล และรวมถึงหน่วยงานหรือกิจการเอกชนที่กระทำโดยบุคคลสองคนขึ้นไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล นิติบุคคลหมายถึง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองกรณ์อื่นที่กฎหมายกำหนด ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เช่น การแจกแถมสินค้า และยังรวมถึง สัญญาให้เช่าซื้อสินค้ ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร… Read more

(Thai) ขั้นตอนจดทะเบียนแก้ไขชื่อและตราประทับ

Sorry, this entry is only available in Thai.

(Thai) ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

Sorry, this entry is only available in Thai.

(Thai) การเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด

Sorry, this entry is only available in Thai.