การเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด

หลักเกณฑ์การเพิ่มทุน

การเพิ่มทุนของบริษัท จะกระทำได้โดยการออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากรายการเกี่ยวกับทุนของบริษัทอยู่ในรายการหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ดังนั้น หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุนจะต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม การประชุม

1.1 ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) รวมทั้งให้ระบุทุนที่เพิ่มและหนังสือบริคณห์สนธิที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

1.2 ในการลงมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

  1. การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม
  2. หุ้นที่ออกใหม่ ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นๆ ถือหุ้นอยู่ คำเสนอ ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ให้ระบุจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิจะซื้อได้ และกำหนดวันที่จะต้องแจ้ง หากพ้นวันดังกล่าวแล้วยังไม่ตอบรับการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะถือว่าผู้ถือหุ้นไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว
  3. เมื่อพ้นกำหนดไปแล้วไม่มีการตอบรับจากผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นปฏิเสธไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุน ให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เองก็ได้
  4. หุ้นที่ออกใหม่จะขายให้แก่บุคคลภายนอกไม่ได้
  5. หุ้นที่ออกใหม่ถ้าชำระด้วยสิ่งอื่นนอกจากตัวเงินต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องระบุรายละเอียดของสิ่งที่นำมาชำระค่าหุ้นให้ชัดเจน

วิธีการจดทะเบียนเพิ่มทุน แบ่งเป็นดังนี้

  1. กรณียังไม่ได้ขายหุ้นออกใหม่ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ
  2. กรณีที่ขายหุ้นออกใหม่เป็นคราว ๆ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ และจดทะเบียนเพิ่มทุนตามจำนวนหุ้นที่ขายได้ พร้อมทั้งจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม

ในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่มเป็นคราวๆ ไป นั้น จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการประชุมคราวเดียวกับการประชุมมติพิเศษเพิ่มทุนก็ได้

  1. กรณีขายหุ้นออกใหม่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน จดทะเบียนเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) พร้อมกัน ทั้งนี้จะต้องจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติพิเศษให้เพิ่มทุน

ในกรณีที่ต้องการออกหุ้นใหม่ในมูลค่าที่ต่างจากมูลค่าเดิม จะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) โดยให้แก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น) ก่อน แล้วจึงมีมติเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถพิจารณาในการประชุมคราวเดียวกันได้ การยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) ในกรณีที่ต้องการแปลงมูลค่าหุ้นพร้อมกับการขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนนั้น ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดทำคำขอจดทะเบียน 2 คำขอ คือ

3.1 คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น) และ

3.2 คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน เพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ให้ยื่นจดทะเบียนพร้อมกันทั้ง 2 คำขอ

ข้อมูลที่ต้องใช้

1.ทุน จำนวนหุ้น ที่เพิ่ม

2.รายการหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ที่แก้ไขแล้ว

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน, เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน)

1.คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)

2.แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด

3.รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)

4.หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 1 ฉบับ ผนึกอากรแสตมป์ 50 บาท

5.หลักฐานการอนุญาตให้เพิ่มทุน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจเงินทุน หรือหลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย)

6.สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น

7.คำสั่งศาล (ใช้เฉพาะกรณีพื้นฟูกิจการ)

  1. หนังสือชี้แจงว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติกำหนดสภาพและบุริมสิทธิ์แห่งหุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด (ใช้เฉพาะกรณีจดทะเบียนเพิ่มทุนที่ออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ์โดยไม่ได้จดทะเบียนข้อบังคับ หรือจดทะเบียนข้อบังคับแต่ไม่ได้กำหนดชนิดของหุ้นไว้)

9.สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน

*ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*

10.สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

*ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*

11.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)

สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

ถ้าหากท่านไดต้องการข้อมูลเพิ่มเติม  ติดต่อบีเอสเอ  เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้  โดยทางเรายินดีให้บริการดังนี้

บริการเพิ่มทุน  ลดทุน  จดทะเบียนบริษัท เลิกบริษัท ชำระบัญชี  โดยให้บริการ  จดทะเบียนกรุงเทพ  จดทะเบียนภูเก็ต  จดทะเบียนฝั่งธน  จดทะเบียนบางรัก  จดทะเบียนสีลม จดทะเบียนสาธร  จดทะเบียนรัชดา  จดทะเบียนบางรัก  จดทะเบียนสุขุวิท  จดทะเบียนบางนา  จดทะเบียนคลองเตย  จดทะเบียนอโศก  จดทะเบียนพระรามสอง จดทะเบียนสมุทรสาคร  

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *