การขอคืนภาษีกรณีบุคคลธรรมดา

การขอคืนภาษี

ภายหลังที่รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก. ยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง โดยให้ผู้ประกอบการยื่นความจำนงค์และให้เริ่มทำบัญชีเดียวตั้งแต่ปี 2559 ดังนั้นต่อไปนี้ผู้ประกอบการก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบอีกต่อไป และเมื่อมีภาษีที่ได้จ่ายเกินเนื่องจากการถูกหักภาษี ผู้ประกอบการต้องกล้าที่จะขอคืนภาษีทุกชนิด วันนี้จะขอพูดเรื่องการขอคืนภาษีบุคคลธรรมดา จากสรรพากร ต้องปฎิบัติดังนี้

ยื่นคำร้องขอคืนภาษีโดยใช้แบบ ค. 10 หรือ
กรณีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90, 91 อาจขอคืนโดยกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีอีกส่วนหนึ่ง
การขอคืนขอให้ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายกำหนดเวลายื่นรายการภาษีหรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ (กรณียื่นเกินกว่ากำหนดเวลา) หรือนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
การยื่นคำร้องตาม 1 ให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ การใช้แบบแสดงรายการเป็นคำร้องขอคืนเงินภาษี ถ้ายื่น ณ อำเภอภูมิลำเนา จะได้รับเงินคืนเร็วกว่ายื่นที่อื่น
ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวของเพิ่มเติม
สำเนาใบสำคัญการสมรส หรือสำเนาใบสำคัญการหย่าหรือสำเนาใบมรณบัตรของคู่สมรส
สำเนาสูติบัตรของบุตร หนังสือรับรองบุตร หรือหนังสือทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมที่ขอหักลดหย่อนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบุตร
สำเนาหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง)
หลกฐานอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี
ผู้มีอำนาจสั่งคืนเงินภาษี จะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วันนับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือแบบ ค 20 ไปยังผู้ขอคืน ผู้ขอคืนจะไรับเงินคืนได้ตามที่ระบุในหนังสือแบบ ค. 20 ในการไปรับเงินคืนจากอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ผู้ขอคืนจะต้องนำหนังสือแบบ ค 20 และบัตรประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินคืนด้วย ในกรณีที่สังคืนเงินภาษีล่าช้า ทางราชกาจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกรณีผู้ขอคืนต้องการให้กรมสรรพกรนำเงินภาษีที่ได้รับคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของตนจะต้องปฎิบัติตามงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กำหนด

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *