ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าสิ่งที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ที่คิดได้เป็นเงิน รวมถึงภาษีสรรพสามิต(ถ้ามี) แต่ไม่รวมถึงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ลดให้ขณะขายสินค้าหรือให้บริการที่เรียกว่าสดลดการค้า ค่าชดเชยหือเงินอุดหนุนตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีขาย ค่าตอบแทนอื่นตามกฎหมายกำหนด
ฐานภาษีสำหรับการส่งออกสินค้า ได้แก่ มูลค่าสินค้าส่งออกโดยให้ใช้ราคา F.O.B. ของสินค้าบวกด้วยภาษีสรรพสามิตและภาษ๊หรือค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะกำหนด แต่ทั้งนี้ไม่รวมอากรขาออก
ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
กรณีรับขนคนโดยสาร ได้แก่ มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องจากการรับขนคนโดยสารนั้น
กรณีรับขนสินค้า ได้แก่ มูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องจากการรับขนสินค้านั้นออกนอกประเทศ
4. ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ได้แก่ มูลค่าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา C.I.F. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนด ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายจะกำหนด

5. ฐานภาษีกรณีขายยาสูบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันตามที่กฎหมายกำหนด มีหลักเกณฑ์พิเศษในการคำนวณฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าเหล่านี้ ฐานภาษีได้แก่มูลค่าสินค้าที่ได้มาจากการหักจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจำนวนเต็มของราคาขายปลีกของสินค้า โดยให้คำนวณจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทีรวมอยู่ในจำนวนเต็มของราคาขายปลีก

6. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

กรณีผลิตสินค้าหรือให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้ถือราคาตลาดในวันที่ความรับผิดเกิดเป็นฐานภาษี
กรณีผู้ประกอบการนำสินค้าไปใช้หรือนำบริการไปใช้เองหรือให้บุคคลอื่นใช้โดยมิใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรง ต้องถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษี ฐานภาษีถือตามราคาตลาด
กรณีสินค้าของผู้ประกอบการจดทะเบียนมีจำนวนคงเหลือจริงขาดจากจำนวนในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายต้องเสียภาษีขายดดยถือตามราคาตลาดของสินค้า ในวันที่ตรวจพบ
กรณีสินค้าเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรารัอยละ 0 ไปแล้ว ต่อมาผู้ซื้อได้โอนกรรมสิทธิ์ไปทำให้ผู้ซื้อทอดหลังมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหือประมาณที่เป็นอยู่ในวันที่ความรับผิดเกิด
กรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและมีทรัพย์สินที่ใช้ประกอบการเหลือในวันเลิกประกอบกิจการถือเป็นการขาย โดยถือราคาตลาดของสินค้าและทรัพย์สินนั้น ในวันเลิกประกอบกิจการ
ราคาตลาดถือตามราคาเฉลี่ยที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปตามที่จะหนดหลักเกณฑ์ตรวจสอบราคาขึ้น กรณีไม่อาจทราบราคาตลาดที่แน่นอนให้ใช้เกณฑ์คำนวณที่จะกำหนดขึ้น
กรณีเรียกเก็บเพิ่มหรือลดมูลค่าสินค้าหรือบริการเดิมและกรณีเกิดหนี้สูญ
บทความนี้ทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่อ่านได้เข้าใจง่าย ถ้าหากต้องการรายละเอียดที่เต็มรูปแบบให้ท่านไปดูที่ มาตรา 79 , 79/1 – 79/7 หรือถ้าหากต้องการสอบถามเพิ่มเติมติดต่อที่

บริษัท บีเอสเอ ตรวจสอบบัญชี จำกัด ซึ่งเราเป็นผู้ให้บริการสอบบัญชี ทำบัญชี วางแผนภาษี วางรบบบบัญชี จดทะเบียนตั้งบริษัท Due diligence ที่ www.bsa.co.th หรือ 02 0092299

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *