ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้สามประเภทดังนี้

  1. ผู้ประกอบการ
  2. ผู้นำเข้า
  3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ

ผู้ประกอบการ

องค์ประกอบของผู้ประกอบการมีดังนี้

  • เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล
  • ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ
  • ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่)

เป็นบุคคลธรรดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล

บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึงกองมรดก (มาตรา 77/1(2)

คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุนหรือมูลนิธิที่ไม่ใช่นิติบุคคล และรวมถึงหน่วยงานหรือกิจการเอกชนที่กระทำโดยบุคคลสองคนขึ้นไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล

นิติบุคคลหมายถึง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองกรณ์อื่นที่กฎหมายกำหนด

ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ

ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เช่น การแจกแถมสินค้า และยังรวมถึง

  • สัญญาให้เช่าซื้อสินค้
  • ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย
  • ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
  • นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการไดๆ ยกเว้นนำไปประกอบกิจการ
  • สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถูดิบ
  • มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ ณ วันเลิกกิจการ
  • กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทราง ฉบับที่ 188

บริการ หมายความว่าการกระทำไดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าและรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการไดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง

  • การใช้บริการหรือนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการตนเอง
  • การนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อหาประโยชน์
  • การกระทำตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมลตรี

ประกอบกิจการในราชอาณาจักร

กรณีเป็นการขายสินค้า จะต้องเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรเท่านั้น จึงจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีการให้บริการในราชอาณาจักร นอกจากหมายถึงการให้บริการและมีการใช้บริการในราชอาณาจักรแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้หมายถึง

  1. บริการที่ทำในราชอาณาจักรโดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศหรือนราชอาณาจักร
  2. การให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรด้วย(มาตรา77/2 เช่น การส่งเงินค่าลิขสิทธิ์ หรือค่าเข่า โปรแกรมคอนพิวเตอร์ไปต่างประเทศกฎมายก็ถือว่าเป็นการให้บริาการในราอาณาจักร

ผู้นำเข้า

หมายถึงผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้สินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าเพื่อประการไดๆ และให้รวมถึงการนำเข้าสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้ยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย

ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ (ตาม มาตรา 81/2)

  1. ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปรกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือตัวแทน
  2. ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรารัอยละ 0 ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือโอนสิทธิในการบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต  สถานทูต สถานกงสุลใทย สถานกงสุล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการกังกล่าว
  3. ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลการกร ซึ่งได้รบยกเว้นภาษีมูล่าเพิ่ม ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราสุลกากร ผู้มีหน้าที่เสียพาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่
  • ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่ด้วยพิกัดอัตราศุลการกร
  • ผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว

4.  ในกรณีที่มีการควบกิจการเข้ากัน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ ผู้ที่ควบเจากันและผู้ประกอบกิจการใหม่

5.  ในกรณีโอนกิจกร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *