ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้สามประเภทดังนี้ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ผู้ประกอบการ องค์ประกอบของผู้ประกอบการมีดังนี้ เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่) เป็นบุคคลธรรดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึงกองมรดก (มาตรา 77/1(2) คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุนหรือมูลนิธิที่ไม่ใช่นิติบุคคล และรวมถึงหน่วยงานหรือกิจการเอกชนที่กระทำโดยบุคคลสองคนขึ้นไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล นิติบุคคลหมายถึง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองกรณ์อื่นที่กฎหมายกำหนด ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เช่น การแจกแถมสินค้า และยังรวมถึง สัญญาให้เช่าซื้อสินค้ ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร… Read more

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี เป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย เป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการตามข้อ 5 ประสงค์จะยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว สามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้  ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีฉบับที่ 43 ดังนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการมีกำหนดเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร หมายถึง ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย คู่สัญญาอีกฝ่ายต้องเป็นนิติบุคคลไทย องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองค์การที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลและสัญญาต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ให้ถือว่าวันที่ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นวันที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวด้วย

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้งออกฉบับใหม่

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงเลขที่ใหม่  แต่จะต้องลงวัน  เดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน  จัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีระบบซอฟต์แวร์ในระบบงานจัดทำใบกำกับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชี  แยกประเภทโดยอัตโนมัติ ถ้าระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไม่สามารถระบุวัน  เดือน ปี  ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ให้ตรงกับ วัน เดือนปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่  ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์  เพื่อให้สมารถระบุวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมได้ หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า  เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่…..เล่มที่…..และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย  ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ร้องขอให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำฉบับใหม่ที่ถูกต้องจะต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้ด้วย