อัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

ตามมาตรา 65 ทวิ กำหนดค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอของทรัพย์สิน โดยให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145 การหักค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละของมุลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สินดังนี้ อาคาร อาคารถาวร ร้อยละ 5 อาคารชั่วคราว ร้อยละ 10 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการ เช่าได้ ร้อยละ 10 มีหนังสือสัญญาเช่า ไม่มีข้อกำหนดในการต่ออายุ คิดตามจำนวนปีที่ถือครอง กรณีไม่จำกัดอายุการใช้ ร้อยละ 10 กรณีจำกัดอายุการใช้ คิดตามอายุการถือครอง ทรัพย์สินอย่างอื่น ร้อยละ 20

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

หลายคนสับสนว่าได้จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าปรับปรุงทรัพย์สินที่มีอยู่เดิม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวทางกฎหมายภาษีควรจะเป็นค่าใช้จ่ายหรือจะเป็นทรัพย์สินดี ในกรณีนี้กรมสรรพากรได้ในมาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออกไปหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงภาพเดิม รายจ่ายอันมีลัษณะเป็นการลงทุน ทางกรมสรรพากรถือตามหลักการบัญชีว่ารายจ่ายไดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีให้ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (ทรัพย์สิน) ห้ามนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทันทีภายในปีที่จ่าย แต่ให้หักในรูปของค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2)

ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

ค่าเบี้ยงเลี้ยงและค่าพาหนะ ที่จ่ายให้กับพนักงานเพื่อไปปฎิบัติหน้าที่งานทั้งในและต่างประเทศเป็นครั้งคราว และไม่เกินอัตราที่ราชการกำหนด โดยบริษัทจะต้องจัดทำระเบียบการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะให้ชัดเจน รวมทั้งทุกครั้งที่มีการจ่าย จะต้องจัดทำหลักฐานการจ่ายให้มีความเหมาะสมและถูกต้อง มีผู้มีอำนาจอนุมัติและผู้รับเงินลงลายมือชื่ออนุมัติ ซึ่งถ้าหากทำครบถ้วนตามนี้บริษัทจะได้ประโยชน์สามารถนำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้แถมได้ใจพนักงานอีก ส่วนพนักงานเองก็ได้รับงเงินเต็มจำนวนไม่ต้องเสียภาษี

ซื้อรถยนต์นั่งไม่เกินสิบที่นั้งทำสัญญาแบบใหนดี

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ สำหรับรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ให้หักค่าสึกหรอ หรือค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าทรัพย์จากมูลค่าต้นทุนไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่ซื้อรถยนต์นั่งเป็นเงินสดหรือตามสัญญษเงินผ่อน(สัญญาเช่าซื้อ) เว้นแต่ทำสัญญาเช่า (Lease หรือ leasing) ที่กฎหมายกหนดให้หักค่าใช้จ่ายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มได้เดือนละ สามหมื่นหกพันบาท ในรูปของค่าเช่า ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งเพื่อใช้งานในบริษัท ก็ขอให้ระวัง ว่าควรจะทำสัญญาแบบใหนดี ที่บริษัทจะได้ประโยชน์สูงสุด

ยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลสำหรับเงินปันผล

มาตรา 65 ทวิ (10) กำหนดให้เงินปันผลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีรายละเอียดดัางนี้ บริษัทตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับเงินปันจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือกองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พานิชกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือส่วนแบ่งผลกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า ให้นำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งผลกำไรที่ได้นั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพียงครึ่งเดียว บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและจดทะเบียนไว้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ้าได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริม  เกษตรกรรม พานิชกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า ไม่ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรทั้งหมด มาเสียภาษี บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ้าถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25  ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดของผู้จ่ายปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือดดยทางออ้ม บริษัทจำกัดผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่ต้องนำเงินปันผลทั้งหมดที่ได้จากบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินเงินปันผลนั้นมาเสียภาษี เงินปันผลที่รับยกเว้นภาษีต้องถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนได้รับเงินปันผลและภายหลังได้รับเงินปันผล

การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร

การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ได้แก่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน การขายห้องชุดของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม ข้อ 1 ,2 ,3 เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคลตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม 1,2,3,4,5, ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพยนั้น เว้นแต่ การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก การขายอสังหาริมทรัพยที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู๋ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลาห้าปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรขอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวบรัษฎากรโดยไม่มีค่าตอบแทน การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การของาัฐบาบตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐลาลนั้นมิด้มีการจ่ายค่าตอบแทนป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยน

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ การธนาคาร ประกอบกิจการเงินลงทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซีเอร์ การรับประกันชีวิต การรับจำนำ การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพานิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหากำไร การขายหลักทรัพย์ การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท บีเอสเอ ตรวจสอบบัญชี จำกัด / bsa.co.th

บทกำหนดโทษทางภาษี

บทกำหนดโทษทางภาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษีแว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้ เงินเพิ่มคงเสียร้อยละ 0.75 กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฎว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษ๊ขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตาม (1) แล้วยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยประับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โทษทางอาญา กรณีไม่ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท กรณีไม่ทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับประจำวัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท กรณีไม่ยื่นแบบแส่ดงรายการ ภ.ง.ด. 90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกงฯ เพื่อหลีกเลื่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี… Read more

จำนวนเงินได้ที่ต้องยื่นแบบเสียภาษี

จำนวนเงินได้ที่ต้องยื่นแบบเสียภาษี ไม่มีสามีหรือภรรยา และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท ไม่มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ถึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะประเภทที่ 1 ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ถึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะประเทภที่ 1 ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท กองมรดกที่ยังมิได้แบ่งเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท บีเอสเอ ตรวจสอบบัญชี จำกัด