การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายสินค้า (ที่ไม่ใช่การส่งออก)หรือการให้บริการดังนี้ การขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การขายปุ๋ย การขายปลาป่น อาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมลตรี การให้บริการประกอบโรคศิลป การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นที่อธิบดีกำหนด การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล การให้บริาการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนด การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้เฉพาะในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนด การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริาการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม… Read more

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี เป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย เป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการตามข้อ 5 ประสงค์จะยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว สามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีฉบับที่ 43 ดังนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการมีกำหนดเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร หมายถึง ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย คู่สัญญาอีกฝ่ายต้องเป็นนิติบุคคลไทย องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองค์การที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลและสัญญาต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ให้ถือว่าวันที่ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นวันที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวด้วย