ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี

ความรับผิดขอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกกรณี จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าหากไม่หักจะต้องรับผิดดังนี้ คือ ในกรณีไม่ได้หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เลย หรือหักภาษีไม่ครบถ้วน ให้ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้รับผิดชอบร่วมกันในจำนวนภาษ๊ที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและมิได้นำส่ง ในกรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษีไว้เแล้ว แต่มิได้นำส่งหรือนำส่ง แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเท่าจำนวนที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้หักไว้แล้ว และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายรับผิดชำระเงินจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ในกรณีที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ให้ผู้มีเงินได้แสดงสถานะเพื่อการหักลดหย่อน โดยผู้มีเงินได้ลงลายมื่อชื่อรับรอง หากปรากฎว่ารายการนี้ผิดพลาดทำให้การหักภาษี ณ ที่จ่ายผิดพลาดไปด้วยผู้มีเงินได้ต้องรับผิดชำระภาษีในส่วนที่นำส่งไม่ครบถ้วน ผู้หักภาษีไม่ต้องรับผิดชอบ ในกรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบหรือขาดจำนวนหรือไม่นำส่งหรือล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ… Read more

FacebookTwitterGoogle+LineEmailShare

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายมาตรา 78 ได้กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ การขายสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนที่มีการส่งมอบสินค้า ขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในในค้ายังไม่ใด้โอน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาค่างวด เว้นแต่ได้รับชำระราคาค่างวดหรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อน ขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้ตัวแทนได้ส่งมอบให้ผู้ซื้อแล้ว เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าแล้วหรือได้รับชำระราคา การขายสินค้าโดยการส่งออก ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อการชำระอากรขาออกหรือวันที่ที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก การให้บริการ ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า หรือได้ใช้บริการนั้นเอง การให้บริการตามสัญญษที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการทีสิ้นสุดลง เว้นแต่จะมีการกระทำอย่างอื่นเกิดขึ้นก่อน กรณีนำเข้าสินค้า ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาเข้าหรือเมื่อมีการวางค้ำประกันอากรขาเข้า กรณีพิเศษ กฎกระทรวงฉบับที่ 189 พ.ศ. 2534

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ปี 2559

ฉบับที่ 2 เป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 คือมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ดังนี้ 1. เป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 2. ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี 3. กำไรสุทธิปี 2559 ไม่ต้องเสียภาษี 4. กำไรสุทธิปี 2560 คิดภาษีเฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาทขึ้นไปเสียภาษีในอัตรา 10% 5. ต้องมายื่นคำร้องต่อกรมสรรพากร เพื่อขอยกเว้นและลดอัตราภาษี ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ 6. ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้อง ตั้งแต่วันที่ 1… Read more

นิรโทษกรรมภาษีย้อนหลัง

นิรโทษกรรมภาษีย้อนหลัง ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ  ในการที่จะเริ่มตั้งต้นในการนำกิจการเข้าสู่ระบบความมีมาตรฐานของการจัดทำบัญชี  ไม่ต้องทำบัญชีสองชุดและต้องคอยระวังส่ิ่งที่ได้ทำไว้ไม่ถูกต้อง  และเมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบ ก็ไม่เห็นมีใครรอดสักรายแถมเสียเงินมากกว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องเสียอีก  ใหนจะต้องเสียภาษี เสียดอกเบี้ย(เงินเพิ่ม) แถมโดนค่าปรับอีก  เบ็ดเสร็จแล้วมากกว่า  ท้ายสุดบางรายก็ยอมปิดกิจการไปแถมมีคดีฟ้องร้องไม่จบ และเมื่อกิจการทำบัญชีเล่มเดียว ต่อไปนี้ผู้ทำบัญชีที่จัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี รวมถึงผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อโดยไม่มีการจัดทำกระดาษทำการที่สมบูรณ์จะได้หมดไป  เมืองไทยจะได้งบการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ และรัฐจัดเก็บภาษีได้เต็มที่ สำหรับรายละเอียดของพระราชกำหนดมีรายละเอีียดดังนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมระบุหมายเหตุเพิ่มเติมว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อยกเว้น และสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการสนับสนุนให้มีการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการซึ่งหากไม่ดำเนินการโดยเร่งด่วนจะส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีอันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ สำหรับเนื้อความในพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2558 ทั้ง 9 มาตรา… Read more

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้สามประเภทดังนี้ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ผู้ประกอบการ องค์ประกอบของผู้ประกอบการมีดังนี้ เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่) เป็นบุคคลธรรดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึงกองมรดก (มาตรา 77/1(2) คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุนหรือมูลนิธิที่ไม่ใช่นิติบุคคล และรวมถึงหน่วยงานหรือกิจการเอกชนที่กระทำโดยบุคคลสองคนขึ้นไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล นิติบุคคลหมายถึง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์และองกรณ์อื่นที่กฎหมายกำหนด ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เช่น การแจกแถมสินค้า และยังรวมถึง สัญญาให้เช่าซื้อสินค้ ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร… Read more

ขั้นตอนจดทะเบียนแก้ไขชื่อและตราประทับ

จดทะเทียนแก้ไขชื่อนิติบุคคลพร้อมแก้ไขตราประทับ ขั้นตอนจดทะเทียนแก้ไขชื่อนิติบุคคลพร้อมแก้ไขตราประทับ กรรมการของบริษัทจองชื่อนิติบุคคล (ต้องไม่ซ้ำหรือคลองจ้องกับชื่อมีอยู่แล้ว) จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วันและให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทและตราสำคัญของบริษัท รวมทั้ง แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วนการนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น ในการลงมติให้แก้ไขชื่อ และตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1.(ชื่อ) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน จัดทำคำขอจดทะเบียน รายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อบริษัท) โดยให้กรรมการตามออำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนตราสำคัญไว้โดยระบุชื่อบริษัทไว้ในตรา บริษัทต้องจดทะเบียนแก้ไขตราสำคัญให้สอดคล้องกับชื่อใหม่ด้วย ให้ระบุรายการแก้ไขตราสำคัญไว้ในคำขอจดทะเบียนเดียวกับการแก้ไขชื่อบริษัท ขั้นตอนจัดทำข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. (ชื่อ) และดวงตรา ชื่อบริษัทที่ได้เปลี่ยนใหม่ ดวงตราสำคัญใหม่ คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1) แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด… Read more

ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ขั้นตอนข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดเตรียมข้อมูล ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญๆดังต่อไปนี้ จองชื่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการการค้า (ต้องไม่ซ้ำหรือคล้องจองกับชื่อที่เคยมีอยู่แล้ว) จํานวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เปน หุ้นส่วน แต่ละคนจะนำมาลงทุนสามารถลงทุนด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือ แรงงานก็ได (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) กำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขา (ถ้ามี) ชื่อที่อยู่อายุสัญชาติและสิ่งที่นำมาลงหุ้นของ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ละคน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) ดวงตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี) รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน จัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนและเอกสารประกอบการจดทะเบียน ยื่นต่อนายทะเบียน ยื่นคำขอจดต่อนายทะเบียน แก้ไขข้อบกพร่องในคำขอตามคำสั่งของนายทะเบียนให้ถูกต้องครบถ้วน รับใบสั่งชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่ ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน และ / หรือสำเนาเอกสาร ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่… Read more

การเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด

หลักเกณฑ์การเพิ่มทุน การเพิ่มทุนของบริษัท จะกระทำได้โดยการออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากรายการเกี่ยวกับทุนของบริษัทอยู่ในรายการหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ดังนั้น หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุนจะต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม การประชุม 1.1 ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) รวมทั้งให้ระบุทุนที่เพิ่มและหนังสือบริคณห์สนธิที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น 1.2 ในการลงมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม หุ้นที่ออกใหม่ ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นๆ ถือหุ้นอยู่… Read more